Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลของการใช้อุณหภูมิสูงในการอบลดความชื้นต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว
Effect of high temperature oven on storability of rice seeds
Autores:  Wilai Palawisut
Duangorn Ariyapruek
Pornsuree Kanjana
Data:  2012-01-31
Ano:  2011
Palavras-chave:  Rice seeds
Temperature
Storability
Seed quality
ข้าว
การเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์
การลดความชื้นของเมล็ด
อุณหภูมิ
เครื่องอบ
ความแข็งแรงของเมล็ด
Resumo:  Seed drying is one of the most important processes of seed production in rice. The purpose for reduce seed moisture without any effects on seed quality. The continuous-flow drier need higher temperature than bacth drier for increased drying rate was used in this experiment. In2008 at Pichit province, Five Experiments were conducted on 12 tons continuous-flow driers to find out the effected of temperature on quality of PSL2 and RD29 rice seed under different levels of temperature including 45, 50, 55 45 followed by 50 and 50 followed by 55°c compared with sun drying method. In2009 at Suphan Buri province, PSL2 rice seeds were used on 30 tons ontinuous-flow driers to study in two experiments. First experiment 3 levels of temperature including 45, 50, 55°c compared with sun drying and another 45 followed by 50 and 50 follow by 55°c compared with sun drying. The suitable temperature for seed drying was 50 followed by 55°c without affected to seed dormancy, storability and vigor. In 2010, RD41 rice seeds were studied at Suphan Buri province. Four methods were conducted drier and followed by sun drying, drier at 45°c (>20% moisture content) followed by 50°c (16-20% moisture content) followed by 55°c (<16% moisture content), sun drying followed by drier and sun drying. The results indicated that the moisture reducing by appropriated temperature of drier was better than another on seed storability and vigor, but rate of moisture reducing got more times. During the rainy season when sun drying area wasn’t enough, Sun drying followed by drier was the best method for seed drying.

ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การลดความชื้นของเมล็ดเป็นขั้นตอนที่สำคัญ การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องอบแบบไหลต่อเนื่อง (Continuous-flow drier) ชนิดมีตู้ลมร้อนอยู่ด้านล่างชั้นเดียวจำเป็นต้องใช้อุณหภูมิที่สูงกว่าแบบเป็นงวด (Batch drier) เพื่อให้ลดความชื้นได้เร็วขึ้นโดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยปี 2551 ดำเนินการในจังหวัดพิจิตร ใช้เครื่องอบขนาดความจุ 12 ตันในพันธุ์ กข29 และพันธุ์พิษณุโลก 2 จำนวน 5 แปลงๆ ละ 1 กรรมวิธี คือ อุณหภูมิคงที่ 45°ซ., 50°ซ., 55°ซ., 45 ตามด้วย 50°ซ. และ 50 ตามด้วย 55°ซ. เปรียบเทียบกับวิธีตากแดดของข้าวแต่ละแปลง ปี 2552 ดำเนินการในจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เครื่องอบขนาดความจุ 30 ตันในพันธุ์พิษณุโลก 2 จำนวน 2 การทดลอง การทดลองแรกเปรียบเทียบ อุณหภูมิคงที่ 45°ซ., 50°ซ., 55°ซ. กับวิธีตากแดด การทดลองที่สองเปรียบเทียบอุณหภูมิ 45 ตามด้วย 50°ซ. และ 50 ตามด้วย 55°ซ. กับวิธีตากแดด ผลการทดลองทั้งสองปี พบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 50 ตามด้วย 55°ซ. เพราะมีอัตราเร็วในการลดความชื้นสูงไม่มีผลกระทบกับระยะพักตัวของเมล็ด เมล็ดพันธุ์มีอายุการเก็บรักษาและความแข็งแรงเท่ากับวิธีตากแดด ปี 2553 ดำเนินการในจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เครื่องอบขนาดความจุ 30 ตัน ทดลองกับพันธุ์ กข41 มี 4 กรรมวิธี คือ อบแล้วตากแดด อบอย่างเดียวด้วยอุณหภูมิ 45 ตามด้วย 50 ตามด้วย 55°ซ.(เมล็ดมีความชื้นมากกว่า 20% จึงเริ่มอบด้วยอุณหภูมิ 45°ซ. จนความชื้นเมล็ดลดลงเหลือ 20% จึงเพิ่มอุณหภูมิเป็น 50°ซ. และเมื่อความชื้นเมล็ดลดลงเหลือ 16% ค่อยเพิ่มอุณหภูมิเป็น 55°ซ.) ตากแล้วอบ และตากแดดอย่างเดียว พบว่า การลดความชื้นโดยวิธีการอบอย่างถูกวิธีให้ผลดีกว่าวิธีตากแล้วอบ อบแล้วตาก และตากแดดอย่างเดียว เพราะเมล็ดมีอายุการเก็บรักษาและความแข็งแรงมากกว่าวิธีลดความชื้นแบบอื่นๆ แต่มีอัตราเร็วในการลดความชื้นต่ำที่สุดและต้นทุนสูงสุด ดังนั้นในสภาวะที่มีฝนตกเป็นระยะและลานตากไม่เพียงพอกับปริมาณข้าวที่รอลดความชื้น วิธีตากแล้วอบเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีอัตราเร็วในการลดความชื้นสูงกว่าวิธีอบแล้วตากและอบอย่างเดียว โดยเมล็ดมีอายุการเก็บรักษาและความแข็งแรงใกล้เคียงกับเมล็ดที่อบแล้วตากและตากแดดอย่างเดียว
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2011: Rice research center groups in upper and lower northern region], Phrae (Thailand), p. 177-190

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/123456789/3100

รายงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2554: สัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง, แพร่, หน้า 177-190
Formato:  387 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional