Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การอนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนกและประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดำเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก
Conservation, regeneration, characterization and evaluation of blackgram (Vigna mungo) genetic resources for bean sprout breeding programme
Autores:  Arada Masari
Paveena Chaiwan
Veerana Sinsawat Forrer
Sumana Ngampongsai
Suwimol Thanomsub
Chutima Koshawatana
Udomwit Vaydhayakarn
Somjai Kowsurat
Sak Pengpol
Thewa Maolanon
Data:  2012-10-08
Ano:  2011
Palavras-chave:  Blackgram
Genetic resources
Rregenerate
Characterize
Evaluate
ถั่วเขียวผิวดำ
เชื้อพันธุกรรม
การฟื้นฟู
การจำแนก
การประเมินคุณค่า
การอนุรักษ์
การเพาะถั่วงอก
การปรับปรุงพันธุ์
ฐานข้อมูลพืช
องค์ประกอบผลผลิต
ผลผลิต
Resumo:  This research is part of the conservation and utilization of field crops genetic resources project of the Thai Department of Agriculture and the research budget was partly supported by the Global Crop Diversity Trust of FAO during 2009-2010. The objectives of the research were to conserve, regenerate, characterize and evaluate blackgram genetic resources. One hundred accessions of blackgram were grown in an experimental plot at Chai Nat Field Crops Research Center in 2009. The planting area of 2x5 sq.m was assigned per accession. The data were recorded following the mungbean descriptors of International Board for Plant Genetic Resources. (IBPGR) Photos were taken at each stage of growth for a database collection. It was found that seed yield per plant of blackgram was 4.7-37.9 g (average 14.6±6.97 g) while seed yield per plot (5 sq.m) varied between 139.7-1,135.6 g (average 439.3±209.1 g). Seed size varied from 30-57 g (average 45.7±5.5 g/1000 seeds). Plant height ranged from 63-162 cm. (average 118±20 cm.) and the number of pod/plant was 17-103 pods (average 47±20.4 pods). The number of seed/pod was 6-8 seeds (average 7±0.5 seed). The day to 50% flowering was 32-87 days (average 63±13 days) while the maturity ranged from 63-118 days (average 94±13 days). Most of the terminal leaflet shape was deltate (98 accs.). Most of the petal colour was yellow (82 accessions.) and the rest was greenish yellow. Most of the mature pod colour was dark brown (49 accessions.) followed by black (31 accessions.) and the rest was brown whereas the seed coat colour of all accessions was black. Twenty accessions were selected for later evaluation in the bean sprout breeding programme. The rest were deposited for safety duplication at the genebank of the Thai Department of Agriculture.

งานวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมพืชไร่ของกรมวิชาการเกษตร ดำเนินการในถั่วเขียวผิวดำ ( Vigna mungo ) ได้รับงบสนับสนุนงานวิจัยบางส่วนจาก Global Crop Diversity Trust ของ FAO ระหว่างปี 2552-2553 มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู จำแนก และประเมินคุณค่าเชื้อพันธุกรรมถั่วเขียวผิวดำจำนวน 100 สายพันธุ์ ดำเนินงานที่ ศวร.ชัยนาท ในปี 2552 พื้นที่ปลูก 2x5 ตรม.ต่อสายพันธุ์ เก็บข้อมูลตาม Mungbean Descriptors ของ IBPGR (1980) รวมทั้งถ่ายภาพของพืชในขั้นตอนการเจริญเติบโตต่างๆ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลพืช พบว่า ผลผลิตต่อต้นของถั่วเขียวผิวดำอยู่ระหว่าง 4.7-37.9 กรัม (เฉลี่ย 14.6±6.97 กรัม) ส่วนผลผลิตต่อแปลงย่อยอยู่ระหว่าง 139.7-1,135.6 กรัม (เฉลี่ย 439.3±209.1 กรัม) น้ำหนัก 1,000 เมล็ดอยู่ระหว่าง 30-57 กรัม (เฉลี่ย 45.7±5.5 กรัม) ความสูงต้นอยู่ระหว่าง 63-162 ซม. (เฉลี่ย 118±20 ซม.) จำนวนฝักต่อต้นอยู่ระหว่าง 17-103 ฝัก (เฉลี่ย 47±20.4 ฝัก) จำนวนเมล็ดต่อฝักอยู่ระหว่าง 6-8 เมล็ด (เฉลี่ย 7±0.5 เมล็ด) อายุถึงวันดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์อยู่ระหว่าง 32-87 วัน (เฉลี่ย 63±13 วัน) อายุเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง 63-118 วัน (เฉลี่ย 94±13 วัน) รูปร่างใบส่วนใหญ่เป็นแบบ สามเหลี่ยม (98 สายพันธุ์) สีดอกส่วนใหญ่มีสีเหลือง (82 สายพันธุ์) ที่เหลืออีก 18 สายพันธุ์มีสีเหลืองอมเขียว สีของฝักแก่ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลเข้ม (49 สายพันธุ์) รองลงมามีสีดำ (31 สายพันธุ์) ที่เหลือมีฝักสีน้ำตาล ส่วนเมล็ดมีสีดำทั้งหมด จากข้อมูลที่บันทึก พบว่า มี 20 สายพันธุ์ ที่มีความดีเด่นด้านผลผลิตและขนาดเมล็ด และได้รับการคัดเลือกเข้าสู่โครงการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์เพื่อการเพาะถั่วงอกต่อไป ส่วนสายพันธุ์ที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ได้นำเข้าเก็บรักษาที่ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตรเพื่อการอนุรักษ์
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5174

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 2, p. 80-84

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 2, หน้า 80-84
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional