Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การวิจัยและพัฒนาการจัดการน้ำและธาตุอาหารข้าวหลังการปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่ เป็นนาขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน
Research and development on water and rice nutrient management after converting upland rice fields to rice terraces in slopping area
Autores:  Apiwat Hantanapong
Data:  2014-06-09
Ano:  2012
Palavras-chave:  Upland rice
Soil managemants
Rice terraces
Soil and water conservations
ข้าวไร่
การจัดการดิน
นาขั้นบันได
การอนุรักษ์ดินแลัะน้ำ
Resumo:  Converting Upland Rice Fields to Rice Terraces in Slopping Area is one of the chosen rice planting system for sustainable rice cultivation on the mountainous area in the upper northern of Thailand. It can increase more double yield than from the upland rice . Water preserving and soil fertility problems are always found in Converting Upland Rice Fields to Rice Terraces in Slopping Area. Studying water and rice nutrient management in Samoeng Rice Research Center was founded that the yield from 5 water regime treatments were not significantly. For rice nutrient management, the yield from adding phosphorus combination with potassium chemical fertilizer was not significantly with adding nitrogen combination phosphorus and potassium chemical fertilizer. But the yield from the treatment that no adding phosphorus or no adding potassium chemical fertilizer had less than no adding nitrogen combination with phosphorus and potassium chemical fertilizer in significant. In pot, the yield from no adding phosphorus treatment was the same as no fertilizer and less than adding nitrogen combination with phosphorus and potassium in significant. Therefore, after Converting Upland Rice Fields to Rice Terraces in Slopping Area, farmers should adding phosphorus combination with potassium fertilizer for maintain yield level in upland area same as the rice terrace farming.

การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน เป็นหนึ่งในระบบการปลูกข้าวที่ใช้เป็นทางเลือกเพื่อสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่ภูเขาสูงของภาคเหนือตอนบน เพราะสามารถสร้างผลผลิตข้าวมากกว่าการปลูกข้าวไร่ระบบเดิม ไม่น้อยกว่า 1 เท่า แต่การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดมักพบปัญหา เรื่องการกักเก็บน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากการขุดปรับเป็นนาใหม่ จึงดำเนินการทดลองเรื่อง การจัดการน้ำ และธาตุอาหารข้าว ที่ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง พบว่า การจัดการรูปแบบการขังน้ำจำนวน 5 กรรมวิธี ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการจัดการธาตุอาหาร พบว่า การใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัสร่วมกับโพแทสเซียม ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการใส่ปุ๋ยธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม สอดคล้องกับการไม่ใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัส หรือโพแทสเซียมในแปลงนาขั้นบันได มีผลให้ผลผลิตข้าวน้อยกว่าการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการใส่และไม่ใส่ธาตุอาหารข้าวในกระถาง พบว่า การไม่ใส่ปุ๋ยธาตุฟอสฟอรัส ทำให้ผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการไม่ใส่ปุ๋ยธาตุอาหาร และน้อยกว่าการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิดอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น หลังการปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันได ควรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อรักษาความสมดุลของดิน และระดับผลผลิตข้าวบนพื้นที่สูง
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5583

[Proceeding of rice research symposium 2012: Rice research center groups in upper and lower northern region], Phitsanulok (Thailand), p. 284-288

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2555, พิษณุโลก, หน้า 284-288
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional