Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวในแหล่งปลูกข้าวภาคใต้
Technology to increase rice yield and reducing production cost in southern area
Autores:  Auaychai Boonyanupong
Sumroung Saeton
Lertkiat Chooseri
Petcharee Sengsim
Charat Nounong
Boonmee Varinsa-ard
Kwanjai Kodchapakdee
Kwanjai Thongmak
Saowanee Seebua
Prasit Seethongkaew
Amornsak Vaewsak
Data:  2015-05-06
Ano:  2014
Palavras-chave:  Rice yield
Direct seeding
Transplanting
Transplanted spacing
Photoperiod insensitive variety
Photoperiod sensitive variety
Rice production
Rice yield
Technology production
Cost
Southern
ข้าว
การปลูกแบบหว่านแห้ง
การปลูกแบบปักดำ
ระยะปักดำ
พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง
การผลิตข้าว
เทคโนโลยีการผลิต
การยอมรับเทคโนโลยี
การลดต้นทุน
การเพิ่มผลผลิต
ประสิทธิภาพการผลิต
ภาคใต้
Resumo:  Three years experiments were conducted during 2010-2012 in order to develop and testing for rice yield improvement and production cost reduction in Southern part of Thailand. The first two years, the experiment was conducted in Phatthalung Rice Research Center, and the third year in the farmer fields. The Split Plot in Randomized Complete Block design was employed comprising rice varieties as main plots and rice seed rate or spacing as subplots with 4 replications. Results in the research center found that, by direct seeding, Phitsanulok 2, a non-photoperiod sensitive variety, gave the highest yield when seeded at 20 kilogram per rai seed rate whereas the photoperiod sensitive variety, Chiang Phatthalung showed the highest yield when seeded at 15 kilogram per rai seed rate. In transplanting field, Phitsanulok 2 also gave the highest yield when transplanted at 20x20 centimeter and Songyod Phatthalung the photoperiod sensitive variety showed the highest yield at 25x25 centimeter spacing.

การผลิตข้าวในภาคใต้ยังมีผลผลิตเฉลี่ยที่ต่ำกว่าภาคอื่นๆ สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ค่อนข้างน้อย จึงดำเนินการศึกษาการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวในแหล่งปลูกข้าวภาคใต้ พ.ศ. 2554-2556 วางแผนการทดลองแบบ split plot in RCB จำนวน 4 ซ้ำ Main plot คือ พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ชัยนาท 1 กข37 ปทุมธานี 1 และพันธุ์พิษณุโลก 2 และพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เล็บนกปัตตานี เฉี้ยงพัทลุง และพันธุ์สังข์หยดพัทลุง Sub plot คือ อัตราเมล็ดพันธุ์ จำนวน 4 อัตรา และระยะปลูกจำนวน 4 ระยะ สองปีแรกเป็นการทดลองเพื่อคัดเลือกเทคโนโลยีเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด ภายในศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง เพื่อพัฒนาสู่แปลงนาเกษตรกร จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลาในปีที่สาม ผลการทดสอบภายในศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ด้านอัตราเมล็ดพันธุ์ พบว่า พันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงจะให้ผลผลิตสูงที่สุดที่อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คือ พันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์ กข37 ส่วนพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง พบว่า อัตราเมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ผลผลิตสูงที่สุดในพันธุ์ข้าวเฉี้ยงพัทลุง และสังข์หยดพัทลุง สำหรับการปลูกแบบหว่านแห้ง พบว่า อัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ผลผลิตสูงที่สุด ในข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี และสังข์หยดพัทลุง สำหรับระยะปลูกพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง พบว่า ระยะปักดำที่ 20x20 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตสูงที่สุด และพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คือ พันธุ์พิษณุโลก 2 และพันธุ์ปทุมธานี 1 ส่วนพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง พบว่า ระยะปักดำที่ 25x25 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูง ในพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ส่วนด้านการลดต้นทุนการผลิตด้านการใช้ปุ๋ย พบว่า การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ 318-750 บาทต่อไร่ จากการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรซึ่งมีต้นทุนการใช้ปุ๋ย 936-1,368 บาทต่อไร่
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research southern region groups], Phattalung (Thailand), p. 116-133

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5672

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคใต้ ประจำปี 2557, พัทลุง, หน้า 116-133
Formato:  162 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional