Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ข้าวหอมที่สูง "บือเนอมู"
Aromatic highland rice "Beu Ner Moo"
Autores:  Satid Pinmanee
Data:  2011-12-26
Ano:  2011
Palavras-chave:  Beu Ner Moo
Rce terrace
Pure line selection
Rice yield
Aromatic rice
ข้าวหอม
บือเนอมู
การปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์
นาขั้นบันได
ผลผลิต
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
การรวบรวมพันธุ์
การคัดเลือกพันธุ์
การจัดทำฐานข้อมูล
Resumo:  “Beu Ner Moo” rainfed aromatic highland rice varieties were planted on rice terrace by hilltribe Pwakin-nyaw (Karen). The name means aromatic rice which were selected by Pwakin-nyaw farmers long time ago and still grown as a special varieties until now. Due to their impurity, pure line selection was the breeding methodology and geographical indications (GI) was the way to increase their value. There were three steps to develop Beu Ner Moo. 1) Collecting 48 Beu Ner Moo rice varieties from 4 districts of Chiang Mai including Mae Ai, Chiang Dao, Chai Prakan and Mae Chaem. 2) Purifying Beu Ner Moo rice by pure line selection according to their morphological characters and can be classified into 10 groups. Then selected only 6 groups with long grains and aroma as the rice owner described. 3) Establishing Beu Ner Moo yields database by selecting only 6 groups of Beu Ner Moo to plant and compare their yields with recommend varieties (KDML 105 and PTT1) and local varieties (Beu Chaw Me and Beu Taw Mae). Results found that the 6 selected groups had yield of 246 – 409 kilograms per rai with no significant difference among those varieties but less than PTT1 (686 kg/rai) and higher than KDML 105 (173 kg/rai). Introducing and expanding pure Beu Ner Moo varieties into Pwakin-nyaw’s rice terrace in Chiang Mai may lead to have new GI product in the future.

พันธุ์ข้าว “บือเนอมู” เป็นพันธุ์ข้าวเจ้านาปี ปลูกในสภาพนาขั้นบันได พันธุ์หนึ่งของชาวนาไทยภูเขากลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) มีความหมายว่า “ข้าวที่มีกลิ่นหอม” เป็นพันธุ์ท้องถิ่นได้มาจากการคัดเลือกพันธุ์มาตั้งแต่บรรพบุรุษในอดีต และยังเก็บรักษาไว้เป็นพันธุ์ปลูกจนถึงปัจจุบัน หากได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์และพัฒนาให้เป็นสินค้าที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จะเป็นการเพิ่มมูลค่า ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมที่สูงบือเนอมูให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ สำหรับพัฒนาเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในอนาคต โดยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) การรวบรวมพันธุ์ข้าวหอมที่สูง บือเนอมู จาก 4 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ แม่อาย เชียงดาว ไชยปราการ และ แม่แจ่ม จำนวน 48 ตัวอย่าง 2) การคัดเลือกพันธุ์ให้บริสุทธิ์ สามารถแบ่งกลุ่มออกได้ 10 กลุ่ม ตามแหล่งที่เก็บตัวอย่างและลักษณะทางสัณฐานวิทยา และคัดเหลือเพียง 6 กลุ่ม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับลักษณะสัญฐานวิทยา ตามคำบอกเล่าของเจ้าของพันธุ์ดั้งเดิม คือเมล็ดขาวและหอม 3) การสร้างฐานข้อมูลด้านผลผลิตโดยการนำข้าวที่คัดไว้ทั้ง 6 กลุ่ม ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในแปลงทดลองกับข้าวหอมพันธุ์แนะนำ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 และพันธุ์ท้องถิ่น ได้แก่ บือชอมี และบือทอแม พบว่าพันธุ์ข้าวบือเนอมูที่คัดเลือกไว้ทั้ง 6 กลุ่ม มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 246 – 409 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างทางสถิติจากผลผลิตของพันธุ์ท้องถิ่น แต่น้อยกว่าผลผลิตของพันธุ์ปทุมธานี 1 (686 กิโลกรัมต่อไร่) แต่สูงกว่า ขาวดอกมะลิ 105 (173 กิโลกรัมต่อไร่) สำหรับการดำเนินงานต่อไปคือ การนำพันธุ์ข้าวสายพันธุ์บริสุทธิ์ไปขยายผลในแปลงนาขั้นบันไดของชาวนาเผ่าปกาเกอะญอในจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจังของชาวนาชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอ เพื่อสร้างเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต่อไปในอนาคต
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of 2nd rice annual conference year 2011: Rice and national farmers' day], Bangkok (Thailand), p. 344-345

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/123456789/3078

การประชุมวิชาการข้าว เนื่องในโอกาสวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2554, กรุงเทพฯ, หน้า 344-345
Formato:  375 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional