Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  สถานการณ์ความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือของประเทศไทย
State of insecticide resistance of brown planthopper in northern, Thailand
Autores:  Sukanya Arunmit
Wantana Sriratanasa
Jintana Chaiwong
Data:  2014-10-03
Ano:  2013
Palavras-chave:  Rice
Brown planthopper (BPH)
Insecticide resistance
Toxicology test (LD50)
Outbreak area
Northern region
ข้าว
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
ค่าความเป็นพิษ
พื้นที่ระบาด
ภาคเหนือ
Resumo:  The brown planthopper (BPH), Nilaparvata lugens (Stål), is one of the most serious insect pest of irrigated rice in the central and lower areas of Northern Thailand. In upper North of Thailand, the first and serious outbreak was found during year 2011 and 2012. The misused insecticide over a period of time with extensive and intensive application is causing BPH outbreak. Therefore, the goal of this research was to monitor the insecticide resistance of BPH in the Northern, Thailand. BPH were collected from 12 outbreak fields of the Northern region namely: Chiang Rai, Chiang Mai, Mae Hong Son, Nan, Phrae, Tak, Phetchabun, Kamphaeng Phet, Phitsanulok, Phichit, Nakhon Sawan and Uthai Thani between the periods of 2010 to 2012. The toxicological tests (LD50) of 10 insecticides are fenobucarb, isoprocarb, carbosulfan, imidacloprid, thiametoxam, clothianidin, dinotefuran, ethiprole, fipronyl and etofenprox were conducted by standardized methods described in Heong et al., (2011). The result showed BPH populations obtained from the lower areas of Northern Thailand, Nakhon Sawan developed resistance to fenobucarb, ethiprole, dinotefuran, thiamethoxam and imidacloprid. The BPH populations of Kamphaeng Phet developed resistance to fenobucarb, thiamethoxam and imidacloprid. The BPH populations of Phichit developed resistance to ethiprole, dinotefuran and imidacloprid. The BPH populations from Phetchabun and Uthai Thani developed resistance to fenobucarb, ethiprole and imidacloprid. The BPH populations of Phitsanulok developed resistance to ethiprole, thiamethoxam and imidacloprid. BPH populations from the upper areas of Northern Thailand namely, Chiang Rai developed resistance to fipronil, thiamethoxam and imidacloprid. The BPH populations of Chiang Mai developed resistance to imidacloprid, dinotefuran and etofenprox. The BPH populations from Nan developed resistance to fenobucarb. The BPH populations from Phrae and Mae Hong Son developed resistance to imidacloprid. The BPH populations of Tak found susceptible to isoprocarb and fipronil. In the conclusion of 10 insecticides LD50 tested, we found BPH populations from 12 outbreak fields not developed resistance to 3 insecticides, clothianidin, carbosulfan and isoprocarb but developed resistance to imidacloprid.

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål)) เป็นแมลงศัตรูสำคัญของการผลิตข้าวในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง พบการระบาดรุนแรงครั้งแรกในภาคเหนือตอนบนเมื่อปี 2554 และ 2555 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดเกิดจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่ไม่ถูกวิธีของเกษตรกร มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเป็นพื้นที่กว้าง ด้วยปริมาณความเข้มข้นที่สูงและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์การสร้างความต้านทานต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในปี 2553-2554 ได้ทำการเก็บประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากนาข้าวในพื้นที่ระบาด 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และอุทัยธานี มาทดสอบหาระดับความเป็นพิษ (LD50) ต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง 10 ชนิด ได้แก่ ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโปรคาร์บ คาร์โบซัลแฟน อิมิดาคลอพริด ไทอะมีโธแซม คลอไทอะนิดิน ไดโนทีฟูเรน อิทิโพรล์ ฟิโปรนิล และอีโทเฟนพร็อก ตามวิธีการของ Heong และคณะ (2011) ผลการทดสอบพบว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลประชากรจากภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ ประชากรจังหวัดนครสวรรค์ ปรับตัวต้านทานต่อสารฟีโนบูคาร์บ อิทิโพรล์ ไดโนทีฟูเรน ไทอะมีโธแซม และอิมิดาคลอพริด ประชากรจังหวัดกำแพงเพชร ปรับตัวต้านทานต่อสารฟีโนบูคาร์บ อิทิโพรล์ ไทอะมีโธแซม และอิมิดาคลอพริด ประชากรจังหวัดพิจิตร ปรับตัวต้านทานต่อสารอิทิโพรล์ ไดโนทีฟูเรน และอิมิดาคลอพริด ประชากรจังหวัดเพชรบูรณ์และอุทัยธานี ปรับตัวต้านทานต่อสารฟีโนบูคาร์บ อิทิโพรล์ และอิมิดาคลอพริด ประชากรจังหวัดพิษณุโลก ปรับตัวต้านทานต่อสารอิทิโพรล์ ไทอะมีโธแซม และอิมิดาคลอพริด สำหรับประชากรในภาคเหนือตอนบน พบว่าประชากรจังหวัดเชียงราย ปรับตัวต้านทานต่อสารฟิโปรนิล ไทอะมีโธแซม และอิมิดาคลอพริด ประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ปรับตัวต้านทานต่อสารอิมิดาคลอพริด และอีโทเฟนพร็อก ประชากรจังหวัดน่านปรับตัวต้านทานต่อสารฟีโนบูคาร์บ ประชากรจังหวัดแพร่และแม่ฮ่องสอน ปรับตัวต้านทานต่อสารอิมิดาคลอพริด ส่วนประชากรจังหวัดตากยังไม่มีการปรับตัวต้านทานต่อสารทดสอบทั้ง 2 ชนิด คือ ไอโซโปรคาร์บ และฟิโปรนิล สรุปผลการทดสอบหาระดับความเป็นพิษต่อสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงทั้ง 10 ชนิดของประชาการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจาก 12 จังหวัดในภาคเหนือของไทย พบประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากทั้ง 12 จังหวัด ไม่ปรับตัวต้านทานต่อสารคลอไทอะนิดิน คาร์โบซัลแฟน และไอโซโปรคาร์บ แต่ปรับตัวต้านทานต่อสารอิมิดาคลอพริด
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISBN 978-974-403-940-8

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5605

[Proceeding of rice research symposium 2013: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Mai (Thailand), p. 122-134

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2556, เชียงใหม่, หน้า 122-134
Formato:  312 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional