Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเฉดสี
Nutritional values of local Thai colored rice
Autores:  Chanakan T Prom-u-thai
Sansanee Jamjod
Benjavan Rerkasem
Data:  2014-09-30
Ano:  2013
Palavras-chave:  Rice
Oryza sativa
Colored rice
Local rice
Nutritional product
Nutritive value
Agriculture science
Northern Thailand
Chiang Mai province
ข้าว
ข้าวสี
ข้าวพื้นเมือง
ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
คุณค่าทางโภชนาการ
วิทยาศาสตร์การเกษตร
แอนโทไซยานิน
ธาตุเหล็ก
สังกะสี
จ.เชียงใหม่
ภาคเหนือ
Resumo:  Colored rice or pigmented rice refers to the color of rice kernel such as black, purple and red which is form by deposits of anthocyanin in different layers of the pericarp, seedcoat and aluerone layers. This experiment was to evaluate nutritional values (anthocyanin, iron and zinc) of rice grain among local colored rice varieties. Variation among varieties for anthocyanin, iron and zinc concentrations were found in brown rice, white rice and bran. Significant amount of anthocyanin concentration was found in black color rice, whereas very low concentration was found in red and brown color rice. Among all black rice, the highest anthocyanin concentration was found in Niaw Dam 6 collected from Udon Thani (90 mg/100 g in brown rice) and (820 mg/100 g in bran). Positive relationship between anthocyanin content in brown rice and bran was detected, indicating that most of anthocyanin was located in the pericarp layer of rice grain. For iron and zinc, colored rice varieties had higher iron and zinc concentration than KDML105 in brown rice, white rice and bran. In brown rice, the highest iron concentration was found in Leumpua (16.1 mg/kg) and zinc in Niaw Dam 2 and 3 (33.9-34.7 mg/kg). In white rice, the highest iron concentration was found in Paeiklo (6.9 mg/kg) and zinc in Niaw Dam 2 and 3 (30.8-31.5 mg/kg). Inclusion, the variation of anthocyanin, iron and zinc concentration was shown in colored rice varieties. This variation may cause by genotype, environmental conditions and interaction among them which require further study.

ข้าวเฉดสีคือข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดประกอบไปด้วยสีต่างๆ เช่นสีดำ ม่วงและแดง ซึ่งเกิดจากสารประกอบแอนโทไซยานินในชั้นต่างๆ ของเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ด การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารในข้าวเฉดสีที่มีคุณค่าในทางโภชนาการต่อผู้บริโภค (แอนโทไซยานิน ธาตุเหล็กและสังกะสี) พบว่าข้าวเฉดสีมีความแปรปรวนของปริมาณสารแอนโทไซยานิน ธาตุเหล็กและสังกะสีในข้าวแต่ละพันธุ์ทั้งในข้าวกล้อง ข้าวสารและรำข้าว สำหรับสารแอนโทไซยานินพบว่าพันธุ์ข้าวที่มีเฉดสีดำจะมีสารแอนโทไซยานินมากกว่าเฉดสีแดงและน้ำตาล และพบว่าข้าวเหนียวดำ 6 ที่เก็บมาจากจังหวัดอุดรธานีมีปริมาณแอนโทไซยานินสูงที่สุดทั้งในข้าวกล้อง (90 มิลลิกรัม/100 กรัม) และรำข้าว (820 มิลลิกรัม/100 กรัม) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ของสารแอนโทไซยานินในข้าวกล้องและรำข้าว ซึ่งแสดงว่าสารแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าวจะอยู่ในส่วนของเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดที่มีสีเป็นส่วนมาก ธาตุเหล็กและสังกะสีก็มีความแปรปรวนในข้าวเฉดสีแต่ละพันธุ์ พันธุ์ข้าวที่มีปริมาณธาตุเหล็กสูงที่สุดในข้าวกล้องคือพันธุ์ลืมผัว (16.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และธาตุสังกะสีพบในพันธุ์เหนียวดำ 2 และ 3 (33.9-34.7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ตามลำดับ ในข้าวสารพบธาตุเหล็กสูงที่สุดในพันธุ์ปะอ้ายโกล้ (6.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และธาตุสังกะสีในพันธุ์เหนียวดำ 2 และ 3 (30.8-31.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) จากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่ามีความแปรปรวนของสารแอนโทไซยานิน ธาตุเหล็กและสังกะสีในข้าวเฉดสีแต่ละพันธุ์ ซึ่งความแปรปรวนนี้อาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ของพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่จะต้องมีการศึกษาและวิจัยถึงรายละเอียดต่อไป
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2013: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Mai (Thailand), p. 91-100

ISBN 978-974-403-940-8

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5601

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2556, เชียงใหม่, หน้า 91-100
Formato:  312 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional