Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ความท้าทายของนักปรับปรุงพันธุ์พืชภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก: กรณีศึกษา การปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงทนแล้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
Climate changes a challenge for plant breeders: A case study in breeding peanut for drought resistance of Khon Kaen University
Autores:  Patcharin Songsri
Sanun Jogloy
Nimitr Vorasoot
Aran Patanothai
Data:  2012-08-15
Ano:  2011
Palavras-chave:  Agriculture
Climate
Environment
Peanut
Drought resistance mechanism
Inheritance
ถั่วลิสง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การปรับปรุงพันธุ์พืช
ความท้าทาย
ความทนแล้ง
สภาวะขาดน้ำ
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
Resumo:  Breeding for drought resistance in peanut can reduce aflatoxin contamination. It is also a sustainable strategy to improve both crop productivity and peanut quality under drought conditions for use as a raw material in peanut industry. Peanut breeding program for drought resistance is ongoing at the Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. The research project aimed to generate the integrated knowledge about 1) drought resistance mechanisms based on the responses for physiological and morphological characters and 2) the information on the inheritance of drought resistance in peanut. The information obtained will support the peanut breeding program for a more rapid progress in the selection schemes. The project has tested the peanut lines under drought conditions that can occur at all peanut growth stages including early season drought, mid season drought, late season drought and long term drought. The project could identify drought mechanisms and provide the information on the inheritance of drought resistance that will be useful for planning peanut breeding programs for drought resistance. The information can be used for designing breeding strategies for more effective breeding programs. The project was initiated since 2002. As a result of the project, twelve new researchers (5 master degree students and 7 PhD students) have been trained. The collaborative net work was set up and more than 30 publications have been published in the international scientific journals. The research papers have been cited more than 105 times. The further investigations will be focused on 1) the metabolic pathways of adaptation to drought 2) the use of simulation models to predict the responses of roots to drought and 3) the responses of roots to late season drought.

การปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงให้ทนต่อความแห้งแล้ง ช่วยรักษาผลผลิต และลดการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินได้ นับเป็นแนวทางที่เพิ่มทั้งปริมาณ และคุณภาพของวัตถุดิบที่จะนำไปใช้แปรรูปของโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงได้ อย่างยั่งยืน โครงการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการศึกษาวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงให้ทนแล้ง ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเชิงบูรณาการเกี่ยวกับ 1) กลไกการทนแล้งจากการตอบสนองของลักษณะทางสัณฐานวิทยา และสรีรวิทยาของพืชในสภาวะขาดน้ำ รวมทั้ง 2) ข้อมูลด้านพันธุกรรมการถ่ายทอดลักษณะการทนแล้ง เพื่อเป็นการสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิงสงทนแล้ง และลดการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซิน ให้มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จเร็วขึ้น โดยโครงการฯ ได้มีการศึกษาและทดสอบพันธุ์ถั่วลิสงในสภาวะการกระทบแล้งในช่วงการเจริญเติบโตต่างๆ ได้แก่ ช่วงต้น ช่วงกลาง ช่วงปลายของการเจริญเติบโต และตลอดอายุการเจริญเติบโต ทำให้สามารถระบุกลไกการทนแล้ง และข้อมูลด้านพันธุกรรมการถ่ายทอดลักษณะการทนแล้ง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการวางแผนปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงทนแล้ง ทั้งนักวิจัยในกลุ่ม และนอกกลุ่มงานวิจัยถั่วลิสงทนแล้ง จากผลการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา งานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงทนแล้งได้สร้างนักวิจัยใหม่จำนวน 12 คน (ปริญญาโท 5 คน และปริญญาเอก 7 คน) สร้างเครือข่ายการวิจัยระดับนานาชาติ และตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 30 เรื่อง และผลงานวิจัยถูกอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 105 ครั้ง ในอนาคตโครงการฯ มีแนวทางการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงทนแล้ง โดยจะศึกษาในประเด็น 1) กลไกระดับ metabolic pathway ของการปรับตัวเมื่อเกิดการกระทบแล้งที่มีผลต่อการให้ผลผลิต 2) ใช้แบบจำลองพืชในการทำนายการตอบสนองของรากเมื่อกระทบแล้ง และ3) การตอบสนองของรากเมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโต
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5107

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 2, p. 12-21

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 2, หน้า 12-21
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional