Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง
Viability and quality changes in brown rice
Autores:  Anchalee Prasertsak
Sunanta Wongpiyachon
Siriwan Tangwisuttijit
Suparat Kositchareonkul
Lamaimaat Youngsuk
Data:  2013-03-08
Ano:  2007
Palavras-chave:  ฺBrown rice
KDML 105
Storage time
Viability
Quality changes
Aflatoxin B1
Store
Insects damage
ข้าวกล้อง
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
ความมีชีวิต
การเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว
แอฟลาทอกซิน บี1
การเก็บรักษา
การทำลายของแมลง
คุณภาพ
การจัดการคุณภาพเพื่อการค้า
Resumo:  Viability and quality changes of brown rice are important to find out the appropriate approach of brown rice management in trade. Two experiments, (1) Survey on viability and qualities of brown rice in trade and (2) Longevity and quality changes of brown rice after harvest, were carried out in Pathum Thani Rice Research Center during 2002-2004. Viability of brown rice sampled from millers and exporters at the range of 0, 1-25, 26-50 and 80-100% were found at 5, 6, 12, 23 and 54%, respectively. Low amylose content, soft gel consistency and 1-2 aromatic level were found in all samples. Free fatty acid was 14.04-50.78 mg KOH/100 g starch. Aflatoxin B1 of the samples were detected in the range of 0-11 ppb which were below maximum level against standard (20 ppb). Viability of KDML105 brown rice dropped to 48 and 26% within 3-month storage and dropped to 5 and 0% within 6-month storage in vacuum filling and normal package, respectively. Amylose content and gelatinization temperature did not change during 10-month storage. Free fatty acid increased with storage time. Brown rice stored in laminated plastic bag with vacuum filling was damage due to insect invasion within 8-month of storage whereas that in normal laminated plastic bag was damage within 4 months.

ความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้อง เป็นข้อมูลสำคัญในการจัดการคุณภาพข้าวกล้องเพื่อการค้า ทำการศึกษาที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ปี พ.ศ. 2545-2547 มี 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การสำรวจความมีชีวิตและคุณภาพของข้าวกล้องในระดับการค้า โดยเก็บตัวอย่างข้าวกล้องจากโรงสีและผู้ประกอบการส่งออกจำนวน 57 ตัวอย่าง พบว่า ความมีชีวิตของข้าวกล้อง 0, 1-25, 26-50 และ 80-100% คิดเป็นร้อยละ 5, 6, 12, 23 และ 54 ตามลำดับ คุณภาพข้าวกล้องจัดอยู่ในประเภทข้าวอมิโลสต่ำ ค่าคงตัวของแป้งสุกอ่อน และมีความหอม ระดับ 1-2 ปริมาณกรดไขมันอิสระ 14.04-50.78 มิลลิกรัม KOH/แป้ง 100 กรัม ปริมาณสารพิษ Aflatoxin B1 0-11 ppb ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน (20 ppb) การทดลองที่ 2 ศึกษาความยาวนานของความมีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของข้าวกล้องหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า ความมีชีวิตของข้าวกล้องขาวดอกมะลิ 105 ลดลงจาก 90% ในช่วงบรรจุถุง เหลือ 48 และ 26% ในเดือนที่ 3 ของการเก็บรักษา ในสภาพสุญญากาศและสภาพปิดผนึกปกติ ตามลำดับ และลดเหลือ 5 และ 0% ในเดือนที่ 6 ปริมาณอมิโลสและค่าการสลายตัวของเมล็ดในด่างไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพสุญญากาศเริ่มพบการทำลายของแมลงในเดือนที่ 8 ของการเก็บรักษา ส่วนข้าวกล้องที่บรรจุถุงในสภาพปิดผนึกปกติ พบการทำลายของแมลงในเดือนที่ 4
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 1906-0246

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5299

Thai Rice Research Journal (Thailand), ISSN 1906-0246, Sep-Dec 2007, V. 1, No. 1, p. 65-71

วารสารวิชาการข้าว, ISSN 1906-0246, ก.ย.-ธ.ค. 2550, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, หน้า 65-71
Formato:  88 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional