Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การคัดเลือกข้าวไร่พื้นเมืองทนทานต่อสภาพแล้งต้นฤดูปลูก
Selection of indigenous upland rice for early drought tolerance
Autores:  Kittichai Narenut
Jirawat Sanitchon
Patcharin Songsri
Data:  2012-09-26
Ano:  2011
Palavras-chave:  Upland rice
Drought tolerance
ข้าวไร่
ข้าวพื้นเมือง
การคัดเลือกพันธุ์
ความสามารถในการฟื้นตัว
ความทนแล้ง
การม้วนใบ
ผลผลิต
ฤดูปลูก
การปรับปรุงพันธุ์
Resumo:  Upland rice occupied 47 percent of rice production area of the northern Thailand. Production of upland rice is facing with drought particularly in early stage of growth. This study was aimed at evaluation of indigenous upland rice for early drought resistance. The experiment was conducted in greenhouse. One hundred and eighty seven upland rice varieties including ULR 135 (resistant check) were grown in plastic pots. Randomized complete block design with 2 replications was laid out. Seeds were sown in pots under greenhouse condition. Two seedling were let to grow in each pot. Early drought was performed at 28 days after planting (DAP) for 17 days. Leaf rolling was recorded at 38 and 43 DAP whereas death leaf and recovery percentage was evaluated at 45 and 53 DAP. Results showed a highly significant in all traits. ULR 137 and ULR 328 showed a very high ability of drought tolerance with the highest drought recovery score resulted from low level of leaf rolling and death leaf.ULR 137 and ULR 328 were thus defined as promising drought resistance lines. However, lines out of those will be further evaluated under field condition.

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกสภาพไร่ ประมาณ 47 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด ซึ่งภายใต้สภาพดังกล่าว มักจะประสบปัญหาสภาวะแล้ง ในช่วงต้นฤดูปลูกทำให้สูญเสียผลผลิต การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองที่มีความสามารถในการฟื้นตัว ภายหลังจากการกระทบแล้งต้นฤดู โดยได้ทำการศึกษาในข้าวไร่ 187 สายพันธุ์ ที่ได้จากการรวบรวมจากแหล่งปลูกข้าวไร่ในประเทศไทย และใช้สายพันธุ์ ULR 135 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ทำการศึกษาในสภาพกระถางโดยใช้แผนการทดลองแบบ RCBD 2 ซ้ำ ทำการปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ดและถอนแยกให้เหลือ 2 ต้นต่อกระถาง ให้น้ำทุกวันตามการระเหยของน้ำในแต่ละวัน และงดให้น้ำเมื่อข้าวอายุ 28 วันหลังปลูก เป็นระยะเวลา 17 วัน แล้วกลับมาให้น้ำตามปกติจนถึงระยะเก็บเกี่ยว บันทึกข้อมูลลักษณะการม้วนใบที่อายุ 38 และ 42 วันหลังปลูก ส่วนลักษณะใบตาย และคะแนนความสามารถในการฟื้นตัว อายุ 45 และ 53 วันหลังปลูกตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ทุกลักษณะมีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.01) และสายพันธุ์ ULR 137 และ ULR 328 เป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้ทนต่อสภาพแล้งได้ดีที่สุด เนื่องแสดงลักษณะการม้วนใบและใบตายน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ทำให้มีความสามารถในการฟื้นตัวได้ดีหลังกลับมาให้น้ำ ดังนั้นสายพันธุ์ดังกล่าวจึงเหมาะสมที่จะนำ ไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหรือใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะความทนแล้งและสามารถให้ผลผลิตสูง
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5164

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 2, p. 67-71

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 2, หน้า 67-71
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional