Registro completo |
Provedor de dados: |
Thai Agricultural
|
País: |
Thailand
|
Título: |
“ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI) เพื่อตลาดสหภาพยุโรป: กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์
Thai Geographical Indicator (GI) “Khao Hom Mali Thung Kula Rong-Hai” for European Union Market: A case study of Surin province
|
Autores: |
Somnuek Chongsermtrakul
Ladda Viriyangkura
Thantawan Vattanawalan
|
Data: |
2016-02-26
|
Ano: |
2015
|
Palavras-chave: |
Khao Hom Mali
Geographical Indicator (GI)
Thung Kula Rong-Hai
Surin
European Union
ข้าวหอมมะลิ
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ทุ่งกุลาร้องไห้
สุรินทร์
สหภาพยุโรป
|
Resumo: |
This Study was carried out to develop geographic indicator rice production prototype of Thung Kula Rong-Hai. The study began in September 2013 in Chumpolburi district, Surin province. There were 43 participated farmers which were Chumpolburi agricultural cooperative limited member. The operation composted of 5 main steps; 1) development of knowledge via 4 trainings by follow up and recommend 3 times during production period. 2) connection to J.P rice international milled company (1998) limited, Mueang district, Surin province and Chumpolburi agricultural cooperative rice mill limited. 3) evaluation and development of database system. Certification of GAP standard production system of Rice Department 4) certification of Thung Kula Rong-Hai geographic indicator Hom Mali rice by certification unit which had registered with European Union and 5) certification of mill factory related to Good Manufacturing Practice system. Result of system evaluation and 31 famers’ yield quality analysis showed that there were 23 farmers passed the GAP standard but 8 farmers did not pass due to red rice exceeding the standard level. While both milled factories were certified,the certified rice were not purchased for the whole amount. There were only 12 farmers sold 28,325 kilogram rough rice to the milled factory with an average price of 19.45 baht per kilogram (minimum price 17.60 and maximum price 21.00 baht per kilogram). Because of the high purchasing by the rice subsidy scheme and low moisture content of paddy rice required by the registered mill factory, therefore some famers chose to sell their pre-drying rice to local mill factory. For development of database system and Quick Response Code, QR code setting on packaging bag will present the name, address, growing area, yield and picture of the farmer who was the owner of the product. With these data, the user will be able to refer back to producer and production site, which will be one path to convince the rice consumer leading Thung Kula Rong-Hai Hom Mali rice value-added.
การศึกษานี้ดำเนินการเพื่อพัฒนาต้นแบบการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เริ่มดำเนินการเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ในอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีเกษตรกรเข้าร่วม 43 ราย เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรชุมพลบุรี จำกัด กิจกรรมประกอบด้วย 1) การประชุมและอบรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้วยการอบรมรวม 4 ครั้ง และติดตามให้คำแนะนำตลอดฤดูการผลิต 3 ครั้ง 2) ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดกับโรงสีข้าว บริษัท เจ.พี.ไรซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (1998) จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และโรงสีสหกรณ์การเกษตรชุมพลบุรี จำกัด 3) ทำการตรวจประเมินและการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การตรวจรับรองระบบการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP ของกรมการข้าว 4) การตรวจรับรองข้าวหอมมะลิสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทุ่งกุลาร้องไห้จากหน่วยตรวจรับรองที่ขึ้นทะเบียนกับสหภาพยุโรป และ 5) การตรวจรับรองโรงสีตามระบบ Good Manufacturing Practice (GMP) ผลการตรวจประเมินระบบและจากการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพตามเกณฑ์ของ GAP ข้าว ของเกษตรกรจำนวน 31 ราย พบว่า ผ่านมาตรฐาน 23 รายและไม่ผ่าน 8 ราย สาเหตุที่ไม่ผ่านเนื่องจากมีข้าวแดงปนเกินมาตรฐาน ส่วนโรงสีได้รับการรับรองทั้งสองโรงแต่ไม่สามารถรับซื้อข้าวที่ผ่านมาตรฐานได้ทั้งหมด มีเกษตรกรขายข้าวเปลือกให้โรงสีที่ร่วมโครงการเพียง 12 ราย น้ำหนักรวม 28,325 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.45 บาท (ต่ำสุด 17.60 บาท และสูงสุด 21.00 บาท ) เนื่องจากเกษตรกรขายเข้าโครงการรับจำนำของรัฐบาล และ การรับซื้อข้าวของโครงการเกษตรกรต้องทำการลดความชื้นข้าวเปลือกก่อน ทำให้เกษตรกรจำนวนหนึ่งจำหน่ายข้าวสดให้กับโรงสีในท้องถิ่นไปก่อน สำหรับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลได้พัฒนาจัดทำรหัสคิวอาร์ (Quick Response Code, QR code) ที่บรรจุภัณฑ์ ทำให้เมื่อใช้เครื่องอ่านรหัสคิวอาร์บนบรรจุภัณฑ์ จะปรากฏ ชื่อ ที่อยู่ พื้นที่ปลูก ผลผลิต และรูปภาพเกษตรกรเจ้าของผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับมาสู่ผู้ผลิตและแหล่งผลิตได้ เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
|
Tipo: |
Collection
|
Idioma: |
Thailandês
|
Identificador: |
[Proceeding of rice research symposium 2015: Rice research center groups in north-eastern region], Ubon Ratchathani (Thailand), p. 253-264
http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5931
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2558, กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุบลราชธานี หน้า 253-264
|
Formato: |
290 p.
|
Direitos: |
ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
|
|