Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การใช้ประโยชน์เครื่องหมายโมเลกุลชนิด STS สำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย ให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งแบบคงทนถาวร
Utilization of Sequence Tagged Site (STS) Markers for Durable Resistance to Bacterial Blight Disease in Thai Rice Breeding Program
Autores:  Payorm Cobelli
Somjai Saleeto
Teerada Wangsomboondee
Anuchart Kotchasatit
Jittima Wongnongwa
Varapong Chamarerk
Rasamee Dhitikiattipong
Witchuda Rattanakarn
Nutchakarn Sinprasit
Pornparn Theerattha
Sirada Oncharoen
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Bacterial blight
Resistance gene
Molecular marker
Board spectrum resistance
Durable resistance
โรคขอบใบแห้ง
ยีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง
เครื่องหมายโมเลกุลชนิด STS
ต้านทานแบบกว้างขวาง
ต้านทานแบบคงทนถาวร
Resumo:  Bacterial blight (BB), caused by Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo), is one of the most serious diseases of rice in all major rice-growing areas of Thailand. The most effective approach to control BB is the use of resistant varieties which is economically feasible, an environmental-friendly control method and easy for farmers to handle. However, the selection pressure from the usage of resistant cultivars may result in mutation of the pathogen population to overcome the resistance genes. A feasible method to solve this problem is by pyramiding multiple resistance genes, which are board spectrum, into susceptible rice varieties. The aims of this research were to identify the effectiveness of board spectrum BB resistance genes and to better understand the pathogen diversity. Thus selection of molecular markers closely linked to BB resistance genes and pyramiding xa5, Xa7, xa13 and Xa21 genes into KDML105 are expected to confer durable resistance to BB. In this study, 84 isolates of Xoo collected in 2014 from 4 locations in the Northeast of Thailand were classified into 5 groups based on pathogenicity reaction of 11 rice near-isogenic lines (NILs) carrying different resistance genes. xa5 and Xa7 genes were identified as the most effective and board spectrum genes resisting to 84 Xoo isolates. The STS markers closely linked to BB resistance genes were tested. Four STS makers, including PASAxa5_5F1/R1 and PASAxa5_5F2/R2 is a functional marker for xa5 gene and STSBB7_6F/R, STSBB13_8F/R and STSBB21_11F/R, which are linked to Xa7, xa13 and Xa21 genes, respectively were evaluated. PASAxa5_5F1/R1 and PASAxa5_5F2/R2, STSBB13_8F/R and STSBB21_11F/R were used for pyramiding xa5, xa13 and Xa21 genes into KDML105 background through marker-assisted selection (MAS).

โรคขอบใบแห้ง (Bacterial blight) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) จัดเป็นโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่งเนื่องจากการระบาดรุนแรงและทำความเสียหายในแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญทุกภาคของประเทศไทย การใช้พันธุ์ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งนอกจากจะลดมลภาวะเนื่องจากการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคแล้ว ยังเป็นวิธีที่ง่ายในการนำไปใช้ของเกษตรกร อย่างไรก็ตามพันธุ์ต้านทานอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคได้ เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรคสามารถพัฒนาตัวเองให้ได้สายพันธุ์เชื้อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าทำลายข้าวที่มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้งได้ การผนวกยีนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งที่มีประสิทธิภาพแบบกว้างขวางหลายๆ ยีนเข้าไปพันธุ์ข้าวจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกหายีนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นยีนต้านทานแบบกว้างขวาง และมีความเข้าใจเรื่องของความหลากหลายของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคดังกล่าว อีกทั้งเพื่อทดสอบหาเครื่องหมายโมเลกุลชนิด STS ที่มีตำแหน่งอยู่ใกล้ยีนต้านทานที่มีประสิทธิภาพดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งแบบคงทนถาวร งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการจำแนกหายีนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งที่มีประสิทธิภาพแบบกว้างขวางและศึกษาถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้งจำนวน 84 ไอโซเลท จากตัวอย่างใบข้าวที่แสดงอาการของโรคขอบใบแห้ง ที่เก็บมาจาก 4 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปี 2556 มาทดสอบปฏิกิริยาการเกิดโรคบนสายพันธุ์ข้าว NILs ที่มียีนต้านทานเดียว จำนวน 11 สายพันธุ์ พบยีน xa5 และ Xa7 มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความต้านทานแบบกว้างขวาง ส่วนการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่าสามารถจัดกลุ่มเชื้อตามปฏิกิริยาการเกิดโรคได้ 5 กลุ่ม และการทดสอบหาเครื่องหมายโมเลกุลชนิด STSs ที่มีตำแหน่งอยู่ใกล้ยีนต้านทานมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกลักษณะความต้านทานโรคขอบใบแห้งในพันธุ์ข้าวไทย พบเครื่องหมายโมเลกุลจำนวน 4 เครื่องหมายโมเลกุล คือ PASAxa5_5F1/R1 และ PASAxa5_5F2/R2, STSBB7_6F/R, STSBB13_8F/R และ STSBB21_11F/R ที่เป็นเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับยีนต้านทาน xa5, Xa7, xa13 และ Xa21 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาเครื่องหมาย โมเลกุล PASAxa5_5F1/5R1, PASAxa5_5F2/5R2, STSBB13_8F/R และ STSBB21-11F/R มาช่วยในการติดตามและคัดเลือกลักษณะต้านทานโรคขอบใบแห้งในการผนวกยีนต้านทาน xa5, xa13 และ Xa21 ในข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อีกด้วย
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceeding of The 32nd Rice and Temperate Cereal Crop Annual Conference, Petchaburi (Thailand). p. 139-157

ISBN : 978-616-358-091-7

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5857

เอกสารการประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 32 พ.ศ. 2558, เพชรบุรี, หน้า 139-157
Formato:  352 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional