Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การทดสอบฤดูปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงโรคใบขาวในเขตภาคตะวันตก
Control of sugarcane white leaf disease using planting date in the western part of Thailand
Autores:  Sunee Srisink
Wanlipa Suchato
Data:  2014-03-11
Ano:  2012
Palavras-chave:  Sugarcane
White leaf disease
Planting date
Season
Western part
อ้อย
โรคใบขาว
วันปลูก
อาการใบขาว
ฤดูปลูก
ภาคตะวันตก
Resumo:  White leaf is the most important disease of sugarcane in Thailand. To control the disease, the recommendations are to use clean seed and roguing the infected plants. Choosing planting date is one of the practical measures. The experiment was conducted in farmer’s field in Ratchaburi province where white leaf disease is commonly found. Split plot with 4 replications was used as experimental design. Main plots consisted of 3 planting dates; 17th January, 19th March and 2rd August 2007. Subplots consisted of three sugarcane varieties; K88-92, Suphanburi80 and U-thong8. The plant crop was harvested at 12 months old (except for the August planted cut at 10 months old due to lodging). The incidence of white leaf in both plant crop and ratoon crop were recorded and infected plants were destroyed. The results showed that, sugarcane planted in January and March showed low disease, only 1.47 and 0.38% white leaf found respectively whereas 9.38% white leaf found in sugarcane planted in August. The same results were obtained in the first ratoon crop. When the canes were cut in May (August), there was more than 28% disease plants found. Sugarcane varieties K88-92 and Suphanburi 80 were more susceptible to white leaf disease than Uthong 8.

โรคใบขาวเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของการผลิตอ้อยในประเทศไทย การป้องกันกำจัดโรคได้แก่การใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่สะอาด และทำลายอ้อยที่เป็นโรค วิธีการเลื่อนเวลาการปลูกอ้อยน่าจะเป็นวิธีที่เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤดูปลูกอ้อยที่เหมาะสมเพื่อลดความเสียหายเนื่องจากโรคใบขาวในพื้นที่ภาคตะวันตก โดยทำการทดสอบในไร่เกษตรกร จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ดินทรายจัด และมีโรคใบขาวระบาดอย่างรุนแรง วางแผนแบบ split plotdesign 4 ซ้ำ มีวันปลูกอ้อย 3 ช่วงเวลาได้แก่ ครั้งที่1 วันที่ 17 มกราคม 2550 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2550 เป็นปัจจัยหลัก และพันธุ์อ้อย 3 พันธุ์ คือ K88-92 สุพรรณบุรี80 และ อู่ทอง8 เป็นปัจจัยรอง ตรวจเช็คการเจริญเติบโต และการแสดงอาการใบขาว เมื่อพบกอที่เป็นโรคจะขุดออกตลอดการทดลอง ตัดอ้อยเมื่ออายุประมาณ 12 เดือน (ยกเว้นอ้อยที่ปลูกในเดือนสิงหาคม ตัดเมื่ออายุ 10 เดือน เนื่องจากต้นอ้อยล้มมาก) ผลการทดลอง พบว่า อ้อยที่ปลูกในช่วงเดือนมกราคม และเดือนมีนาคม แสดงอาการใบขาวเพียง 1.47 และ 0.48% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่า อ้อยที่ปลูกในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ที่พบโรคถึง 9.38% โดยพบมากในพันธุ์ K88-92 และสุพรรณบุรี 80 และไม่พบอาการใบขาวเลยในอ้อยพันธุ์อู่ทอง8 หลังจากหลังตัดอ้อยปลูก พบว่า อ้อยที่ตัดในช่วงเดือนมีนาคม แสดงอาการใบขาวต่ำที่สุด 0.71% ในขณะที่อ้อยตัดในช่วงฝนชุก เดือนสิงหาคม อ้อยทุกพันธุ์แสดงอาการใบขาวมากเฉลี่ย 28.07%แต่พันธุ์อู่ทอง8 ยังคงแสดงอาการโรคต่ำกว่า K88-92 และ สุพรรณบุรี80 คือ พบโรคเพียง 4.63% จึงสรุปได้ว่าการป้องกันกำจดั โรคใบขาวโดยเลยี่ งการปลูก และตัดอ้อยในช่วงฤดูแล้งจะสามารถลดการเกิด โรคได้แม้ว่าจะเป็นพนั ธ์ที่อ่อนแอต่อโรค
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5546

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2012, V. 40, Suppl. 3, p. 249-253

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2555, ปีที่ 40, ฉบับพิเศษ 3, หน้า 249-253
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional