Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสิงห์บุรี
Rice potential zoning in Sing Buri province
Autores:  Duangporn Vithoonjit
Kingkaw Kunket
Amornrat Intrman
ChaLermchart Luechaikham
Data:  2014-06-27
Ano:  2013
Palavras-chave:  Rice production
Rice zoning
Rice potential
Soil analysis
Chemical fertilizer
Sing Buri province
การผลิตข้าว
เขตการผลิตข้าว
ศักยภาพการผลิตข้าว
การวิเคราะห์ดิน
การใส่ปุ๋ย
ผลผลิต
ต้นทุนการผลิต
ชุดดิน
Resumo:  Paddy soil in Sing Buri province can be classified into 4 levels as high suitability (soil group 3, 4, 7 and 15), moderately suitability (soil group 21), low suitability (soil group 33) and unsuitability (soil group 38). Moreover, yield production potential of those paddy soils can also be divided into 4 levels as more than 850 kg/rai (R1), 701 - 850 kg/rai (R2), 551 - 700 kg/rai (R3) and less than or equal to 550 kg/rai (R4). Field survey of 547 farmers plantation in Sing Buri province during 2007 - 2009 found that at least five rice varieties, which are PTT1, SPR1, RD31, CNT1 and PSL2 were grown. The common varieties which were PTT1 (90.31%), SPR1 (6.22%) and RD31 (0.91%), respectively were planted by direct seeding method with 25-35 kg/rai seed rate, fertilized 2-3 times/crop, harvested by combine machine and product will be sold direct to rice mill. Rice yield from 50 paddy field samples was 750 - 850 kg/rai Moreover, chemical properties of 100 soil samples found pH 5.53 - 6.67, 2.25 - 2.58% organic matter, 13.95 - 85.85 ppm available phosphorus and 66.00 - 112.00 ppm extractable potassium which indicated medium to high soil fertility. Testing and comparing technology of fertilization to increase rice production in Sing Buri province consists of 3 methods as standard recommendation, soil analysis and farmers practice. SPR1 or PTT1 or PSL2 or RD31 rice varieties were planted by direct seeding with 20 kg/rai seed rate in 9 plots. Results found that the first method produced average yield of 903 kg/rai with 601 Baht/rai average fertilizer cost. The second method gave average yield of 929 kg/rai with 236 Baht/rai average fertilizer cost while the third method showed average yield only 797 kg/rai with 707 Baht/rai average fertilizer cost. Therefore, the first two methods can increase productivity and enhances more than 8 percent the value of rice in Sing Buri province.

จังหวัดสิงห์บุรีสามารถแบ่งพื้นที่ปลูกข้าวตามศักยภาพความเหมาะสมของดินได้ 4 ระดับ คือ เหมาะสมมาก ได้แก่ กลุ่มดินที่ 3, 4, 7 และ 15 เหมาะสมปานกลาง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 21 เหมาะสมน้อย ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 33 และไม่เหมาะสม ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 38 และสามารถจำแนกระดับศักยภาพการให้ผลผลิตข้าวของดินได้ 4 ระดับ คือ มากกว่า 850 กิโลกรัมต่อไร่ (R1) 701 - 850 กิโลกรัมต่อไร่ (R2) 551 - 700 กิโลกรัมต่อไร่ (R3) และต่ำกว่าหรือเท่ากับ 550 กิโลกรัมต่อไร่ (R4) ได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลการปลูกข้าวของเกษตรกร ในจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2550 - 2552 รวม 547 ราย พบว่าพันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี อย่างน้อยมี 5 พันธุ์ คือ ปทุมธานี 1 สุพรรณบุรี 1 กข31 ชัยนาท 1 และพิษณุโลก 2 พันธุ์ที่พบมากที่สุด คือ ปทุมธานี 1 (90.31%) รองลงมา คือ สุพรรณบุรี 1 (6.22%) และ กข31 (0.91%) ตามลำดับ ปลูกโดยวิธีหว่าน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 25 - 35 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ปุ๋ย 2 - 3 ครั้ง เก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด และจำหน่ายผลผลิตให้กับโรงสี ระดับผลผลิตข้าวจากการสุ่มเก็บจำนวน 50 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง R2 นอกจากนั้นจากการสุ่มเก็บตัวอย่าง และวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดินจำนวน 100 ตัวอย่าง พบว่าดินมีค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงกลาง (5.53 - 6.67) มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ดินบนมีปริมาณอินทรียวัตถุร้อยละ 2.25 - 2.58 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 13.95 - 85.85 ppm และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 66.00 - 112.00 ppm เมื่อทำการเปรียบเทียบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ในจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ได้แก่ ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของทางราชการ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร จำนวน 9 แปลง ปลูกด้วยพันธุ์ข้าว ปทุมธานี 1 หรือ สุพรรณบุรี 1 หรือ พิษณุโลก 2 หรือ กข31 โดยวิธีการหว่านน้ำตม ในอัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ พบว่าการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของทางราชการ ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 903 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนค่าปุ๋ยเฉลี่ย 601 บาทต่อไร่ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 929 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนค่าปุ๋ยเฉลี่ย 236 บาทต่อไร่ ส่วนวิธีการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 797 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนค่าปุ๋ยเฉลี่ย 707 บาทต่อไร่ เมื่อนำผลผลิตข้าวที่ได้จากแปลงทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในรูปแบบต่างๆ มาคำนวณเป็นมูลค่าของผลผลิตได้ตามศักยภาพของพื้นที่ โดยเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร พบว่าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสามารถเพิ่มระดับผลผลิต และช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวของจังหวัดสิงห์บุรีขึ้นถึงร้อยละ 8.58 ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าวนอกจากจะเพิ่มมูลค่าการผลิตได้แล้วยังสามารถช่วยในการลดต้นทุนได้อีกด้วย
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceedings of the 30th Rice and Temperate Cereal Crops Annual Conference 2013, Bangkok (Thailand), p. 302-303

ISBN 978-974-403-928-6

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5592

เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ, หน้า 302-303
Formato:  326 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional