Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การพัฒนาข้าวพันธุ์บางแตนให้ต้านทานโรคไหม้แบบผสมกลับ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
Improving Blast Resistance in a Rice Variety 'Bahng Taen' by Using Marker-assisted Backcrossing
Autores:  Reunreudee Kaewcheenchai
Sommai Sriwisut
Apichart Noenplab
Acharaporn Na Lampang Noenplab
Kittima Ruksopa
Peera Dungsoongnern
Udompan Promnart
Nila Rasidee
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Rice
Blast disease
Backcrossing
Marker-assisted selection
Bahng Taen
ข้าว
โรคไหม้
การผสมกลับ
การคัดเลือกโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล
บางแตน
Resumo:  Blast disease is a major rice disease causing significant rice yield loss worldwide. These are several methods to control this disease, but the most effective and most suitable method is to use blast resistant varieties. Prachin Buri Rice Research Center has released a rice variety ‘Bahng Taen’, which is resistant to blast in the Eastern region. Bahng Taen is a non-glutinous, photoperiod insensitive, early maturity variety with high yielding ability. However, the ability to resist to blast of this variety is declining drastically. It is, therefore, necessary to improve blast resistance in Bahng Taen by introgressing blast resistant genes into its background from two donors; PSL’07F6No.2 and PSL’07F6No.5. These two resistant lines were derived from the cross between Jao Hom Nin (JHN) and IR64. Two crosses were conducted i.e. Bahng Taen x PSL’07F6No.2 and Bahng Taen x PSL’07F6No.5. Once the F1 populations were obtained, they were backcrossed to Bahng Taen in order to obtain BC1F1 populations. The progenies were selected using SSR markers flanking blast resistant genes located on chromosome 1 and 11 i.e. RM212/RM319 and RM224/RM144, respectively. Those heterozygous individuals with good agronomic characters were selected in each generation. Four to five backcrossing were conducted until BC4F1 and BC5F1 populations were obtained. Those populations were then allowed to self-pollinated in order to get segregating populations. Those homozygous individuals with good agronomic characters from BC4F2 and BC5F2 populations were selected. Thirty-six lines of BC4F2 and 22 lines of BC5F2 were obtained from the cross between Bahng Taen x PSL’07F6No.2. Fifty-one lines of BC4F2 and 21 lines of BC5F2 were obtained from the cross between Bahng Taen x PSL’07F6No.5. The total of 130 introgressed lines were selected. The preliminary observation trails were conducted at Prachin Buri Rice Research Center. The results showed that those tested lines had maturity ranging from 111 to 132 days. The plant height was between 102 to 129 centimeters and the panicle weight was between 2.8 to 4.1 grams. The filled grain percentage was between 69 to 85 with a 100-grain weight ranging from 2.7 to 3.2 grams. The blast resistant screening was conducted under field condition at Ratchaburi Rice Research Center. It was found that 26 lines showed highly resistant (HR) while 30 lines showed resistant (R) to blast. However, continuous observation has revealed the non-persistent degree of resistance for most of those lines, excepted for 13 lines of which the moderate to high level of blast resistance were recorded.

โรคไหม้ เป็นโรคที่มีความสำคัญและสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวทั่วโลก การป้องกันกำจัดโรคไหม้สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด คือ การใช้พันธุ์ต้านทาน โดยศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ได้เสนอขอรับรองพันธุ์ข้าว พันธุ์บางแตน ซึ่งมีความต้านทานโรคไหม้ในเขตภาคตะวันออก รวมทั้งเป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น และให้ผลผลิตสูง แต่ในปัจจุบันความต้านทานลดลงเป็นอย่างมาก จึงต้องการเพิ่มความต้านทานจากสายพันธุ์ PSL’07F6No.2 และ PSL’07F6 No.5 (สายพันธุ์ให้) ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมที่ได้จากคู่ผสม Jao Hom Nin (JHN) และ IR64 โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล ชนิด SSR ช่วยในการคัดเลือก เริ่มจากผสมพันธุ์ จำนวน 2 คู่ผสม ระหว่างพันธุ์บางแตนกับ PSL’07F6No.2 และ PSL’07F6No.5 เมื่อได้ประชากรชั่วที่ 1 (F1) แล้วจึงผสมกลับไปยังพันธุ์บางแตนได้เป็น BC1F1 คัดเลือกโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล ชนิด SSR ที่มีตำแหน่งใกล้กับยีนที่ควบคุมลักษณะความต้านทานโรคไหม้บนโครโมโซม 1 และ 11 ได้แก่ RM212/RM319 และ RM224/RM144 การผสมกลับแต่ละครั้งคัดเลือกต้นที่มีลักษณะพันธุกรรมเป็นแบบ heterozygous และลักษณะทางการเกษตรดี จนกระทั่งมีการผสมกลับทั้งหมด 4 - 5 ครั้ง ได้เป็น BC4F1 และ BC5F1 จึงปล่อยให้ประชากรเกิดการผสมตัวเอง เพื่อให้มีการกระจายตัวทางพันธุกรรม แล้วคัดเลือกต้น BC4F2 และ BC5F2 ที่มีลักษณะพันธุกรรมเป็นแบบ homozygous และลักษณะทางการเกษตรดี โดยคู่ผสมของพันธุ์บางแตนและสายพันธุ์ PSL’07F6No.2 จำนวน 36 และ 22 สายพันธุ์ ตามลำดับ รวม 58 สายพันธุ์ และคู่ผสมของพันธุ์บางแตนและ PSL’07F6No.5 จำนวน 51 และ 21 สายพันธุ์ ตามลำดับ รวม 72 สายพันธุ์ รวมทั้งสิ้น 130 สายพันธุ์ปล่อยให้ผสมตัวเองจนได้เป็น BC4F4 และ BC5F4 หลังจากนั้นปลูก BC4F4 และ BC5F4 เพื่อศึกษาพันธุ์ ณ ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี พบว่า ข้าวทดสอบมีอายุเก็บเกี่ยว 111 - 132 วัน ความสูง 103 - 129 เซนติเมตร น้ำหนักรวง 2.8 - 4.1 กรัม เมล็ดดีร้อยละ 69 - 85 และ น้ำหนัก 100 เมล็ด 2.7 - 3.2 กรัม และปลูกทดสอบความต้านทานต่อโรคไหม้ในสภาพแปลง ณ ศูนย์วิจัยข้าวราชบุรี พบว่า มีสายพันธุ์ที่แสดงความต้านทานสูง (HR) จำนวน 26 สายพันธุ์ และต้านทาน (R) จำนวน 30 สายพันธุ์ รวม 56 สายพันธุ์ ต่อมาความต้านทานลดลงมีเพียง 13 สายพันธุ์ที่ยังคงแสดงความต้านทานสูง ต้านทาน และค่อนข้างต้านทาน
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceeding of The 32nd Rice and Temperate Cereal Crop Annual Conference, Petchaburi (Thailand). p. 158-170

ISBN : 978-616-358-091-7

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5943

เอกสารการประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 32 พ.ศ. 2558, เพชรบุรี, หน้า 158-170
Formato:  352 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional