Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคข้าว จังหวัดเชียงรายและพะเยา
Effects of climate change on rice diseases in Chiangrai and Phayao provinces
Autores:  Nootjarin Jungkhun
Piyapa Srikhom
Konsiri Srinil
Taraporn Yuneyong
Kanteera Kanta
Data:  2015-05-14
Ano:  2014
Palavras-chave:  Climate change
Temperature
Relative humidity
Rainfall
Rice disease
Epidemic
Global warming
Rice pathogen
Rice
Rice production
Phitsanulok 2 variety
Sanpatong 1 variety
Plant diseases survey
Pathogens
Chiangrai province
Phayao province
ข้าว
พันธุ์พิษณุโลก 2
พันธุ์สันป่าตอง 1
การผลิตข้าว
การสำรวจโรคพืช
โรคข้าว
เชื้อสาเหตุของโรค
การระบาดของโรค
ภาวะโลกร้อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิ
ความชื้นสัมพัทธ์
ปริมาณน้ำฝน
การประเมินความเสียหาย
จ.เชียงราย
จ.พะเยา
Resumo:  การศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคข้าวในช่วงปี 2554 – 2556 จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ดำเนินการโดยการปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และพันธุ์สันป่าตอง 1 ที่เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่ ในแปลงนาทดลองศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ทุกเดือนตลอดทั้งปี โดยวิธีหว่านน้ำตม วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB มี 3 ซ้ำ เดือนปลูกเป็น main plot และพันธุ์ข้าวเป็น sub-plot พร้อมทั้งสำรวจแปลงเกษตรกรที่พบการระบาดของโรคข้าวตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป โดยประเมินการเกิดโรค (incidence) และความรุนแรงของโรค (severity) เพื่อหาแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน กับการระบาดของโรคข้าว จากการศึกษาพบการระบาดของโรคข้าวในทั้งสองพันธุ์ โดยความหลากหลายของโรคและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ระยะกล้าพบการระบาดของโรคไหม้มากที่สุดในช่วงอุณหภูมิเฉลี่ย 25.22 – 26.82 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79.52 – 82.92 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 55.5 – 501.5 มิลลิเมตร ระยะแตกกอพบการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาลมากที่สุด มีอุณหภูมิเฉลี่ย 22.06 – 25.22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 78.28 – 81.13 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 7.3 – 79.5 มิลลิเมตร ระยะก่อนเก็บเกี่ยวพบการระบาดของโรคขอบใบแห้งมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ย 25.72 – 28.41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 62.27 – 81.61 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 2.2 – 242.0 มิลลิเมตร และจากการสำรวจโรคข้าวจากแปลงนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ปี 2554 - 2556 พบการระบาดของโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาลเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน สอดคล้องกับแปลงนาทดลองที่ศึกษา เมื่อตรวจสอบข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเชียงรายระหว่างปี 2554 – 2556 เปรียบเทียบกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา 30 ปีย้อนหลัง พบว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.09 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยลดลง 2.32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงขึ้น 1.29 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงขึ้น 38.98 มิลลิเมตร จะเห็นได้ว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ปริมาณน้ำฝนรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง นั่นคือ ช่วงอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยกว้างขึ้น ส่วนความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น ในลักษณะเช่นนี้ โรคข้าวที่สำคัญเช่นโรคไหม้และขอบใบแห้งยังคงมีความสำคัญเช่นเดิม แต่มีการระบาดของโรคที่มีความสำคัญเป็นอันดับรอง ซึ่งมีความหลากหลายและรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการปรับตัวให้เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีในสภาพฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของเชื้อสาเหตุโรคข้าว ฉะนั้นในอนาคตจึงอาจพบโรคข้าวที่หลากหลายและรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจำแนกความหลากหลายของเชื้อสาเหตุโรคข้าวในการทำให้เกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่สำคัญเช่นโรคไหม้และขอบใบแห้ง ในอีกส่วนหนึ่งของงานวิจัยนี้ที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ จะสามารถให้คำอธิบายเพิ่มเติมได้ชัดเจนขึ้นสำหรับผลงานวิจัยนี้

การศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคข้าวในช่วงปี 2554 – 2556 จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ดำเนินการโดยการปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และพันธุ์สันป่าตอง 1 ที่เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่ ในแปลงนาทดลองศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ทุกเดือนตลอดทั้งปี โดยวิธีหว่านน้ำตม วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB มี 3 ซ้ำ เดือนปลูกเป็น main plot และพันธุ์ข้าวเป็น sub-plot พร้อมทั้งสำรวจแปลงเกษตรกรที่พบการระบาดของโรคข้าวตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป โดยประเมินการเกิดโรค (incidence) และความรุนแรงของโรค (severity) เพื่อหาแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน กับการระบาดของโรคข้าว จากการศึกษาพบการระบาดของโรคข้าวในทั้งสองพันธุ์ โดยความหลากหลายของโรคและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ระยะกล้าพบการระบาดของโรคไหม้มากที่สุดในช่วงอุณหภูมิเฉลี่ย 25.22 – 26.82 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79.52 – 82.92 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 55.5 – 501.5 มิลลิเมตร ระยะแตกกอพบการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาลมากที่สุด มีอุณหภูมิเฉลี่ย 22.06 – 25.22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 78.28 – 81.13 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 7.3 – 79.5 มิลลิเมตร ระยะก่อนเก็บเกี่ยวพบการระบาดของโรคขอบใบแห้งมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ย 25.72 – 28.41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 62.27 – 81.61 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 2.2 – 242.0 มิลลิเมตร และจากการสำรวจโรคข้าวจากแปลงนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ปี 2554 - 2556 พบการระบาดของโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาลเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน สอดคล้องกับแปลงนาทดลองที่ศึกษา เมื่อตรวจสอบข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเชียงรายระหว่างปี 2554 – 2556 เปรียบเทียบกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา 30 ปีย้อนหลัง พบว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.09 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยลดลง 2.32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงขึ้น 1.29 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงขึ้น 38.98 มิลลิเมตร จะเห็นได้ว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ปริมาณน้ำฝนรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง นั่นคือ ช่วงอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยกว้างขึ้น ส่วนความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น ในลักษณะเช่นนี้ โรคข้าวที่สำคัญเช่นโรคไหม้และขอบใบแห้งยังคงมีความสำคัญเช่นเดิม แต่มีการระบาดของโรคที่มีความสำคัญเป็นอันดับรอง ซึ่งมีความหลากหลายและรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการปรับตัวให้เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีในสภาพฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของเชื้อสาเหตุโรคข้าว ฉะนั้นในอนาคตจึงอาจพบโรคข้าวที่หลากหลายและรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจำแนกความหลากหลายของเชื้อสาเหตุโรคข้าวในการทำให้เกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่สำคัญเช่นโรคไหม้และขอบใบแห้ง ในอีกส่วนหนึ่งของงานวิจัยนี้ที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ จะสามารถให้คำอธิบายเพิ่มเติมได้ชัดเจนขึ้นสำหรับผลงานวิจัยนี้
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chainat (Thailand), p. 104-119

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5695

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2557, ชัยนาท, หน้า 104-119
Formato:  434 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional