Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลของสายพันธุ์ข้าวสาลีและเวลาการปลูกที่มีต่อคุณภาพน้ำคั้นต้นกล้าข้าวสาลี
Effect of wheat varieties and growing time on quality of wheatgrass juice
Autores:  Nipaporn Bualai
Naruemon Wanggawee
Sawit Meechoui
Jirapa Pongjanta
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Wheatgrass juice
Physicochemical properties
Shelf-life
Consumers test
น้ำคั้นกล้าข้าวสาลี
สมบัติทางเคมีกายภาพ
อายุการเก็บ
การยอมรับของผู้บริโภค
Resumo:  Purpose of this research was to investigate the effect of wheat variety and growing time on quality and consumer acceptance of wheatgrass juice. The experimental design was a 3 x 3 Factorial in CRD consisted of 3 varieties of wheat grain (AWS -3, BNS - 5 and Fang 60) and 3 level of growing times (5, 7 and 9 days). Wheatgrass was germinated on thick tissue paper in plastic basket with regular watering 2 times a day. Their growth characteristics, physicochemical properties and sensory evaluation were compared over variety and a fixed time period. The results from the statistical analysis revealed that the varieties of wheat seeds and growing times were effective in wheatgrass high, production yield, color value, total soluble solid, chlorophyll A, B, carotenoid content and sensory acceptance. It was found that wheatgrass juice obtained from AWS-3, BNS-5 and Fang-60 varieties grown for 9, 7 and 9 days, respectively had higher value in chemical composition than the other treatments. Result on sensory evaluation revealed that wheatgrass juice produced from AWS.-3 variety grown for 9 days had the highest in total acceptance score (7.20 points) by 30 panelists. Result on shelf life of wheatgrass juice in a polyethylene bottle and stored at 10 and 35 oC for 5 days were dramatically reduced in chlorophyll A, B and carotenoid content upon long time storage. Result on consumers test revealed that 93 % of 100 consumers were acceptance and 94% were willing to buy wheatgrass juice if available.

วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของสายพันธุ์และเวลาในการปลูกต้นกล้ากล้าข้าวสาลีที่มีต่อคุณภาพ และการยอมรับของผู้บริโภคต่อน้ำคั้นข้าวสาลี โดยวางแผนการทดลองแบบ 3 x 3 Factorial design in CRD โดยมีปัจจัยด้าน พันธุ์ข้าวสาลี (AWS –3, BNS – 5 และ Fang-60) และ ปัจจัยด้านเวลาการปลูกนาน 5 7 และ 9 วัน ทำการปลูกในตะกร้าพลาสติกที่รองด้วยกระดาษทิชชุชนิดหนา และรดน้ำประจำวันละ 2 ครั้ง เมื่อครบตามกำหนดเวลาแล้ว นำต้นกล้าและน้ำคั้นต้นกล้าข้าวสาลีที่ได้มาตรวจสอบสมบัติทางกายภาพ เคมี และทางประสาทสัมผัสเปรียบเทียบผลระหว่างสายพันธุ์และเวลาปลูก จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าปัจจัยร่วมระหว่างพันธุ์ข้าวสาลีและเวลาการปลูกมีผลต่อ ค่าความสูงของต้นกล้า ปริมาณร้อยละของผลผลิตของต้นกล้า และน้ำคั้นที่ได้ ค่าสี ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ บี แคโรทีนอยด์ และการยอมรับทางประสาทสัมผัส โดยพบว่าข้าวสาลีพันธุ์ AWS-3 พันธุ์ BNS-5 และ พันธุ์ Fang-60 ที่ปลูกนาน 9, 7 และ 14 วัน ตามลำดับ มีส่วนประกอบทางเคมีสูงกว่าสิ่งทดลองอื่น และ พบว่าผู้ทดสอบชิมจำนวน 30 คนให้คะแนนความชอบรวมในน้ำคั้นที่ผลิตจากข้าวสาลีพันธุ์ AWS-3 ที่ปลูกนาน 9 วันมากที่สุด (7.20 คะแนน) ผลการศึกษาอายุการเก็บน้ำคั้นต้นกล้าข้าวสาลีบรรจุขวดโพลีเอทลีนเก็บที่อุณหภูมิ 10 และ 35oซ นาน 5 วัน พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ บี และแคโรทีนอยด์ ลดลงตามเวลาที่เก็บนานขึ้น ส่วนผลการทดสอบผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภค ร้อยละ 93 ยอมรับผลิตภัณฑ์น้ำคั้นต้นกล้าข้าวสาลี และร้อยละ 94 ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ถ้ามีจำหน่าย
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of The 8th rice research conference 2015: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Rai (Thailand), p. 258-272

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5912

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2558, เชียงราย หน้า 258-272
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional